วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Marketing Process (ต่อ1)

2.         STP =  Segmentation Targeting และ Positioning  คือการกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้มีความชัดเจน โดยความต่างระหว่าง Segment กับ Target ก็คือ  Segment จะเป็นการแบ่งส่วนตลาดที่ใหญ่ให้กลายเป็นตลาดย่อยๆ ตามลักษณะเฉพาะที่คล้ายคลึงกัน ส่วน Target จะเป็นการเลือกตลาดย่อยๆ ของ Segment มาเป็นเป้าหมายเพื่อจะนำเสนอผลิตภัณฑ์และส่วนประสมทางการตลาดได้อย่างเหมาะสม ส่วน Positioning คือการวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ของตนว่าอยู่ตรงจุดไหนของตลาด

Segmentation = จะต้องดูว่าโจทย์พูดถึงสินค้าอะไรเป็นหลักแล้วเราก็จะสามารถแยกตลาดของสินค้านั้นให้มีความชัดเจนขึ้น โดยมีวิธีการแยกดังนี้
 1. Demographic Segmentation =  เป็นการแยกโดยใช้กลุ่มทางด้านประชากรศาสตร์เป็นหลัก เช่น อายุ  เชื้อชาติ  ศาสนา เป็นต้น
 2. Geographic Segmentation = ใช้หลักถิ่นที่อยู่ ทางภูมิศาสตร์ เช่น ภาคเหนือ ภาคใต้ อาศัยอยู่ในเมือง  อยู่ตามชนบท เป็นต้น
 3. Behavior Segmentation =  ใช้หลักพฤติกรรมเป็นตัวแบ่ง เช่น ซื้อเมื่อไหร่ โอกาสไหนถึงซื้อ ซื้อสม่ำเสมอแค่ไหน เป็นต้น
 4. Psychographic Segmentation = ใช้หลักตามจิตทยา  หรือการดำรงชีวิต เป็นตัวแบ่ง เช่น คนที่ต้องทานกาแฟทุกเช้า  ก็ถือเป็นหลักนี้

Targeting = จะทำก็ต่อเมื่อแบ่ง Segment ได้แล้วก็จะมาจับกลุ่มย่อย ในกลุ่มใหญ่ที่เราเลือกมา โดยใช้วิธีดังนี้
1. Single –segment concentration  = เป็นการเลือกกลุ่มเป้าหมายเพียงกลุ่มเดียว ใช้สินค้าตัวเดียว ขายตลาดเดียว (Niche-Market) ถ้าให้ดีให้วาดตารางนี้ด้วยครับ

 

·         ไม่ขายกลุ่มอื่น ไม่ขายสินค้าอื่น                                                             
·         อยู่ในตลาดขนาดไม่ใหญ่ และสินค้าไม่สามารถแตกไปสู่สินค้าอื่นๆได้
·         เพิ่งเข้าตลาดใหม่ๆ กล้าๆ กลัวๆ  ใช้สินค้าเดียว ตลาดเดียว กลุ่มเป้าหมายเดียว
ต่อไปจึงค่อยขยายตลาดหรืออาจเจาะที่นี่ที่เดียวก็ได้ (เป็น Niche)
สินค้าประเภทนี้ คือจับกลุ่มคนพิเศษ ที่ขายเฉพาะกลุ่มคนที่ชอบสินค้านั้นจริงๆ เช่น ตุ๊กตาบาย เป็นต้น
 


 

2. Product Specialization =  สินค้ามีคุณสมบัติที่ขายได้หลายกลุ่ม คือตัวผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าที่กลุ่มเป้าหมายขายได้หลายกลุ่ม                    

·      สินค้าตัวเดียวขายทุกกลุ่ม เข้าสู่ทุกตลาดทุกกลุ่ม เป้าหมาย เช่น คอมฯ ขาย 
ทั้งบ้าน โรงเรียน  ออฟฟิศ                                       

สินค้าประเภทนี้ตัวผลิตภัณฑ์ค่อนข้างจะเป็นสินค้าที่มีราคาไม่แพงจนเกินไป และมีความจำเป็นที่จะต้องใช้

3. Market Specialization =  เน้นที่ตลาดคือการแบ่งแบบนี้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายที่มี Brand Loyalty สูง คือขายตลาดเดียว แต่มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อสนองกลุ่มลูกค้า

·        



 

  
 
กำหนดตัวบุคคลเป็นหลัก สนองตอบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆหลากหลายประเภทต่อกลุ่มเป้า
หมายเดิม
-> ยอมรับสินค้าตัวอื่นๆได้ง่าย
·         คือการเจาะตลาด (Cross-sale) ขายทุกสินค้าให้ตลาดเดิม
·         เช่น เสนอขายสินเชื่อหลายแบบให้ลูกค้ากลุ่มเดิมที่มีศักยภาพที่จะชำระเงินคืนได้

สินค้าประเภทนี้ตัวอย่างเช่น Louis วิสตอง  ที่จะมีทั้งกระเป๋าเงิน เข็ดขัด ฯลฯ เพื่อตอบสนองกลุ่มตลาดเดียวที่ชอบ Louis 

 

4. Selective specialization 


สินค้าหลายตัว แต่ไม่เน้นทุกกลุ่ม
·         เช่น เครดิตการ์ด ขายเฉพาะพ่อบ้าน+ แม่บ้าน แต่ไม่ขายลูก
·         มีสินค้าหลากหลาย เจาะกลุ่มเป้าหมายเจาะกลุ่มตลาดที่ต่างกัน เช่น GMM ทำทั้งเพลง หนัง ละคร
·         เลือกเฉพาะตลาดที่อยากเข้า เช่น เลือกตลาดที่การแข่งขันต่ำ



สินค้าประเภทนี้ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าโดยเลือกสินค้าที่แตกต่างกัน ลงไปในตลาดที่มีพฤติกรรมที่ต่างกัน โดยคาดหวังที่จะจับกลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุด
5. . Full Market Coverage  เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคทุกกลุ่มจะต้องใช้
เข้าสู่ทุกตลาด เช่น ไฟฟ้า
ประปา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น