วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Product life cycle management



ช่วงแนะนำ               เป็นช่วงแนะนำทดลองการใช้สินค้า สินค้า Size เล็กจะขายได้ แต่ยังบอกไม่ได้ว่าจะดีหรือไม่ดี ช่วงนี้ยอดขายจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการแนะนำ คือผลของความสามารถในการรับรู้ของลูกค้า และช่วงนี้ควรบีบช่วงระยะเวลาให้สั้นที่สุด แคบที่สุด และควรจะสร้างความนิยมในตัวสินค้าให้เร็วที่สุด เพราะถ้าปล่อยไว้ค่าใช้จ่ายจะมากขึ้น ทำให้ขาดทุนสะสม
วัตถุประสงค์                   ต้องการสร้างการรับรู้สินค้าใหม่ และกระตุ้นให้เกิดการทดลอง เราสร้างการรับรู้ และกระตุ้นให้เกิดการทดลองได้อย่างไร อยู่ที่การเลือกใช้กลยุทธ์
กลยุทธ์ในช่วงแนะนำ    การใช้กลยุทธ์ส่วนสมทางการตลาด (4Ps) โดยตัวที่เหมาะสมที่สุดคือ
-                   Promotion เพื่อสร้างการรับรู้ โดยการโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โปสเตอร์ ภายใต้งบประมาณที่กำหนด โดยให้เลือกเอาเฉพาะตัวที่ใช้ได้จริงอย่าเอาทุกตัว และ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทดลองใช้ โดยการส่งเสริมการขาย เช่น การลด แลก แจก แถม ตัวอย่างทดลองใช้ ให้เลือกมาแล้วอธิบาย เพราะฉะนั้นในการกำหนดกลยุทธิ์จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
-                   Pricing สำหรับสินค้าที่มีราคาแพง เช่นเครื่องสำอาง เราจะใช้ Pricing ราคาพิเศษในช่วงแนะนำเพื่อให้คนตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น เมื่อคุ้นเคยแล้วทำให้เกิดการซื้อซ้ำในราคาปกติ

ช่วงเติบโต    เป็นช่วงที่ยอดการขายเติบโตอย่างก้าวกระโดด เกิดจากการที่ลูกค้าเริ่มซื้อสินค้าแล้ว สิ่งที่บอกว่าสินค้าเริ่มเข้าสู่ช่วงเติบโตซึ่งสังเกตุได้จาก 2 ประการ คือ
1.            ยอดขายเติบโตอย่างเข้ากระโดด และสินค้าเริ่มมี Size ใหญ่ออกมาขายมากขึ้นๆ แสดงว่าสินค้าเติมโตแล้ว เนื่องจากผู้ซื้อตัดสินใจเข้ามาซื้ออย่างจริงจัง
2.            มีลูกค้าใหม่เข้ามาซื้อมากขึ้น
วัตถุประสงค์   คือการสร้าง Market Share โดยการเพิ่มลูกค้าให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ 
กลยุทธ์ในช่วงเติบโต         การใช้กลยุทธ์ส่วนสมทางการตลาด (4Ps)
1.             Product โดยการสร้างความหลากหลายรูปแบบ ขนาดบรรจุ สีสัน รสชาต กลิ่น ขนาด
2.             Pricing โดยการมีหลากหลายระดับราคาให้ซื้อ เพราะผู้บริโภคแต่ละรายมีกำลังซื้อที่แตกต่างกัน
3.             Place โดยการขายผ่านตัวกลางให้มากขึ้น กระจายตัวกลางให้ครอบคลุมพื้นที่ให้กว้าง และมีการใช้ตัวกลางที่หลากหลายประเภท เช่นการตั้งเอเย่นตามต่างจังหวัด ร้านค้าปลีกตามตำบลต่างๆ
4.             Promotion โดยการลดแลก แจกแถม การโฆษณา
ในการขยายตลาด และเพิ่มลูกค้าใหม่
สมมุติเราเลือกใช้
Pricing         วิธีการคือเรามีสินค้าที่หลากหลายราคาให้เลือก มีตั้งแต่เกรดต่ำ ราคาสูง เกรดสูงราคาแพง
Product        วิธีการคือ เรามีสินค้าหลากหลายสี หลากหลายกลิ่น ให้เราเลือกเอาเพียงอย่างเดียว หรือหลากหลายรุ่น หลากหลายแบบ
Place              วิธีการคือขยายช่องทางให้มากขึ้น ขายในร้านค้าที่หลากหลายขึ้น เพื่อให้ลูกค้าสามารถหาซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น
Promotion   วิธีการคือขยายพื้นที่โฆษณาให้กว้างขึ้น และการเพิ่มความถี่ในการโฆษณา เมื่อคนรู้จักสินค้าคนก็กล้าที่จะซื้อ

ช่วงอิ่มตัว     เป็นช่วงที่ยอดการขายเริ่มชะลอตัวลง จากเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็นเติบโตแบบถดทอย แสดงว่าลูกค้าใหม่ไม่มีแล้วหรือมีน้อยมาก ในช่วงนี้เราจะหากินกับลูกค้าเก่า
วัตถุประสงค์   คือการรักษาลูกค้าเก่าลูกค้าเดิมอย่าให้สูญหาย หรือเสียไปให้คู่แข่งขัน
กลยุทธ์ในช่วงอิ่มตัว          การรักษาการบริโภคจากลูกค้าเก่าสามารถทำได้ 3 อย่าง
1.             การสร้างสินค้าให้หลายหลายเพื่อลดความจำเจ ลดความน่าเบื่อหน่ายเพื่อให้เกิดความบ่อยในการบริโภคของลูกค้าเดิม เช่น มาม่า ปัจจุบันอยู่ในช่วงอิ่มตัวแล้ว การที่เขาออกผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเ เช่น รสเย็นตาไฟ ต้มยำกุ้ง พะโล้ นั้นคือการเพิ่มความหลากหลายเพื่อรักษาการบริโภคของลูกค้าเดิม
2.             การสร้างตลาดที่หลากหลาย เช่น นม สามารถสร้างตลาดที่หลากหลายได้ เด็กก็ดื่มได้ ผู้ใหญ่ก็ดื่มดี ผู้สูงอายุแก้กระดูกพรุน คุณแม่มีครรภ์ อย่างนี้คือความหลากหลายของตลาด
3.             การปรับแต่งตัวผลิตภัณฑ์ เนื่องจากสินค้าล้าสมัย เช่น สบู่นกแก้ว
ช่วงถดถอย  เป็นช่วงที่อัตราการเติบโตลดลง เกิดจากการที่สินค้าเสื่อมความนิยม ล้าสมัย เทคโนโลยีเก่า ไม่มีการปรับปรุงพัฒนา หรือคู่แข่งขันทำได้ดีกว่า
วัตถุประสงค์   คือการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ 
กลยุทธ์ในช่วงถดถอย       กลยุทธ์ในช่วงถดถอยสามารถทำได้ดังนี้
1.             ไม่ลงทุนเพิ่ม ไม่โฆษณา ขายตามสภาพ หรือขายไม่ได้ก็เลิก
2.             ขายทิ้งตัวที่ขาดทุนไม่ทำกำไร
3.             เลือกเจาะตลาด โดยเลือกตลาดที่เล็กลง


BCG Matrix


BCG Matrix คือ โมเดล ที่ใช้วิเคราะห์ด้านการเงินการลงทุนเกี่ยวกับการตลาด โดยการเริ่มต้นของ GE (General Electric) และ Boston Consulting Group (BCG) BCG matrix จะแสดงฐานะหรือความแข็งแกร่งของบริษัทเมื่อเทียบกับตลาดสินค้านั้นๆ โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณา 2 เกณฑ์ คือ
  1. ส่วนแบ่งตลาดเชิงเปรียบเทียบ (Relative Market Share) เป็นการเปรียบเทียบกับคู่ แข่งว่าส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นกี่เท่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่สำคัญ
  2. ความน่าสนใจของตลาด (Market Attractiveness) หรือ อัตราการเติบโตของตลาดสินค้า (Market Growth Rate) คือ อัตราการขยายตัวของตลาดสินค้าทั้งตลาดไม่ใช่ของบริษัท เพราะเกณฑ์ที่ใช้นี้เพื่อต้องการดูว่าตลาดสินค้านั้นๆ มีความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด
อัตราการเจริญ
เติบโตของยอดขายของแต่ละหน่วยธุรกิจ และส่วนครองตลาดเปรียบเทียบโดยแบ่งเป็น 4 ส่วนมีรายละเอียดดังนี้

1. ผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหา (QUESTION MARKS) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายสูง แต่ส่วนครองตลาด
เปรียบเทียบต่ำ มักพบในธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ในช่วงเริ่มเข้าสู่ตลาด ธุรกิจต้องตัดสินใจว่าควรทุ่มเงินสำหรับผลิตภัณฑ์หรือเลิกการผลิตสำหรับผลิต
ภัณฑ์ที่มีปัญหานั้นหรือไม่ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหาควรใช้กลยุทธ์การสร้างส่วนครองตลาดซึ่งหากสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้จนประสบความ
สำเร็จก็จะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นดาวดวงเด่นต่อไป
2. ผลิตภัณฑ์ที่เป็นดาวดวงเด่น (Star) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายสูง และส่วนครองตลาดเปรียบ
เทียบสูง การลงทุนใหม่และการส่งเสริมการตลาดเพื่อรักษาตลาดที่มีการเจริญเติบโตสูงและต่อสู้กับคู่แข่งขันที่จะเข้ามาแข่งขัน
3. ผลิตภัณฑ์ที่ทำเงิน (Cash Cows) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายต่ำ ส่วนครองตลาดเปรียบเทียบสูง
โดยสาเหตุที่อัตราการเจริญเติบโตของยอดขายลดลงเพราะผลิตภัณฑ์เข้าสู่ขั้นเจริญเติบโตเต็มที่และตลาดเข้าสู่จุดอิ่มตัว
4. ผลิตภัณฑ์ที่ตกต่ำ (Dogs) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายต่ำและส่วนครองตลาดเปรียบเทียบต่ำ
ผลิตภัณฑ์ที่ตกต่ำเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำกำไรต่ำหรือขาดทุน บริษัทต้องพิจารณาว่าจะเสนอผลิตผลิตภัณฑ์นี้ต่อไปหรือตัดผลิตภัณฑ์นี้ออกจากตลาดหรือ
เปลี่ยนตำแหน่งผลิตภัณฑ์นั้นให
ม่



Marketing Process (ต่อ2)

Positioning
·      คือ การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์
·      เป็นข้อความที่เราต้องการสื่อให้ผู้บริโภคเกิดการจดจำ
·      วิธีการทำคือ ใส่ปัจจัยที่สำคัญลงไป เช่น ราคาแพง / ถูก, คุณภาพสูง / ต่ำ แล้วเอาสินค้าที่มีในตลาดอยู่แล้วมา Plot ลงไปในกราฟ (กรุณาขยับมือเปิดไปดูตัวอย่างกราฟที่หน้า 8 ด้านล่างสุด เจ้ขี้เกียจทำใหม่ เจ้เมื่อย) แล้วดูว่ามีช่องว่างอยู่ตรงไหน? และเราสามารถแข่งขันได้หรือไม่? มีความเป็นไปได้แค่ไหน  à  เรียกเทคนิคนี้ว่า Product Position Mapping
·      Positioning จะเป็นอะไรก็ได้ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ เมื่อมีตำแหน่งแล้วเอาคุณสมบัติของตำแหน่งในช่องนั้นมาขยายความแล้วกำหนดภาพลักษณ์
·      ดังนั้น Positioning คือ ภาพลักษณ์ในใจผู้บริโภคที่ใส่ไปในตัวผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดการจดจำ หรือช่องว่างบอกตำแหน่งผลิตภัณฑ์แล้วเอามาขยายความเพื่อให้คนจดจำ
สรุป
ในการทำ STP ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำการตลาด และจำเป็นที่จะต้องเขียนลงไปในข้อสอบ เพราะหากทำ STP ไม่ละเอียด ก็จะก่อให้เกิดปัญหาในการทำ MM ได้ ดังนั้นจะต้องตีโจทย์ให้ออกว่าสินค้าที่อาจารย์ให้มาเป็นแบบไหน เจาะกลุ่มใหญ่แบบ Segment ได้อย่างไร และเมื่อแตกกลุ่มใหญ่มาแล้วจะเอากลุ่มใหญ่นั้นมาแตกกลุ่มย่อยได้อย่างไร ซึ่งตรงนี้เวลาสอบต้องไปคิดเองแล้วครับ


Marketing Process (ต่อ1)

2.         STP =  Segmentation Targeting และ Positioning  คือการกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้มีความชัดเจน โดยความต่างระหว่าง Segment กับ Target ก็คือ  Segment จะเป็นการแบ่งส่วนตลาดที่ใหญ่ให้กลายเป็นตลาดย่อยๆ ตามลักษณะเฉพาะที่คล้ายคลึงกัน ส่วน Target จะเป็นการเลือกตลาดย่อยๆ ของ Segment มาเป็นเป้าหมายเพื่อจะนำเสนอผลิตภัณฑ์และส่วนประสมทางการตลาดได้อย่างเหมาะสม ส่วน Positioning คือการวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ของตนว่าอยู่ตรงจุดไหนของตลาด

Segmentation = จะต้องดูว่าโจทย์พูดถึงสินค้าอะไรเป็นหลักแล้วเราก็จะสามารถแยกตลาดของสินค้านั้นให้มีความชัดเจนขึ้น โดยมีวิธีการแยกดังนี้
 1. Demographic Segmentation =  เป็นการแยกโดยใช้กลุ่มทางด้านประชากรศาสตร์เป็นหลัก เช่น อายุ  เชื้อชาติ  ศาสนา เป็นต้น
 2. Geographic Segmentation = ใช้หลักถิ่นที่อยู่ ทางภูมิศาสตร์ เช่น ภาคเหนือ ภาคใต้ อาศัยอยู่ในเมือง  อยู่ตามชนบท เป็นต้น
 3. Behavior Segmentation =  ใช้หลักพฤติกรรมเป็นตัวแบ่ง เช่น ซื้อเมื่อไหร่ โอกาสไหนถึงซื้อ ซื้อสม่ำเสมอแค่ไหน เป็นต้น
 4. Psychographic Segmentation = ใช้หลักตามจิตทยา  หรือการดำรงชีวิต เป็นตัวแบ่ง เช่น คนที่ต้องทานกาแฟทุกเช้า  ก็ถือเป็นหลักนี้

Targeting = จะทำก็ต่อเมื่อแบ่ง Segment ได้แล้วก็จะมาจับกลุ่มย่อย ในกลุ่มใหญ่ที่เราเลือกมา โดยใช้วิธีดังนี้
1. Single –segment concentration  = เป็นการเลือกกลุ่มเป้าหมายเพียงกลุ่มเดียว ใช้สินค้าตัวเดียว ขายตลาดเดียว (Niche-Market) ถ้าให้ดีให้วาดตารางนี้ด้วยครับ

 

·         ไม่ขายกลุ่มอื่น ไม่ขายสินค้าอื่น                                                             
·         อยู่ในตลาดขนาดไม่ใหญ่ และสินค้าไม่สามารถแตกไปสู่สินค้าอื่นๆได้
·         เพิ่งเข้าตลาดใหม่ๆ กล้าๆ กลัวๆ  ใช้สินค้าเดียว ตลาดเดียว กลุ่มเป้าหมายเดียว
ต่อไปจึงค่อยขยายตลาดหรืออาจเจาะที่นี่ที่เดียวก็ได้ (เป็น Niche)
สินค้าประเภทนี้ คือจับกลุ่มคนพิเศษ ที่ขายเฉพาะกลุ่มคนที่ชอบสินค้านั้นจริงๆ เช่น ตุ๊กตาบาย เป็นต้น
 


 

2. Product Specialization =  สินค้ามีคุณสมบัติที่ขายได้หลายกลุ่ม คือตัวผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าที่กลุ่มเป้าหมายขายได้หลายกลุ่ม                    

·      สินค้าตัวเดียวขายทุกกลุ่ม เข้าสู่ทุกตลาดทุกกลุ่ม เป้าหมาย เช่น คอมฯ ขาย 
ทั้งบ้าน โรงเรียน  ออฟฟิศ                                       

สินค้าประเภทนี้ตัวผลิตภัณฑ์ค่อนข้างจะเป็นสินค้าที่มีราคาไม่แพงจนเกินไป และมีความจำเป็นที่จะต้องใช้

3. Market Specialization =  เน้นที่ตลาดคือการแบ่งแบบนี้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายที่มี Brand Loyalty สูง คือขายตลาดเดียว แต่มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อสนองกลุ่มลูกค้า

·        



 

  
 
กำหนดตัวบุคคลเป็นหลัก สนองตอบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆหลากหลายประเภทต่อกลุ่มเป้า
หมายเดิม
-> ยอมรับสินค้าตัวอื่นๆได้ง่าย
·         คือการเจาะตลาด (Cross-sale) ขายทุกสินค้าให้ตลาดเดิม
·         เช่น เสนอขายสินเชื่อหลายแบบให้ลูกค้ากลุ่มเดิมที่มีศักยภาพที่จะชำระเงินคืนได้

สินค้าประเภทนี้ตัวอย่างเช่น Louis วิสตอง  ที่จะมีทั้งกระเป๋าเงิน เข็ดขัด ฯลฯ เพื่อตอบสนองกลุ่มตลาดเดียวที่ชอบ Louis 

 

4. Selective specialization 


สินค้าหลายตัว แต่ไม่เน้นทุกกลุ่ม
·         เช่น เครดิตการ์ด ขายเฉพาะพ่อบ้าน+ แม่บ้าน แต่ไม่ขายลูก
·         มีสินค้าหลากหลาย เจาะกลุ่มเป้าหมายเจาะกลุ่มตลาดที่ต่างกัน เช่น GMM ทำทั้งเพลง หนัง ละคร
·         เลือกเฉพาะตลาดที่อยากเข้า เช่น เลือกตลาดที่การแข่งขันต่ำ



สินค้าประเภทนี้ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าโดยเลือกสินค้าที่แตกต่างกัน ลงไปในตลาดที่มีพฤติกรรมที่ต่างกัน โดยคาดหวังที่จะจับกลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุด
5. . Full Market Coverage  เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคทุกกลุ่มจะต้องใช้
เข้าสู่ทุกตลาด เช่น ไฟฟ้า
ประปา

Marketing Process

(Research)

STP
(Segmentation)
(Targeting)
(Positioning)

Marketing Mix
(4P)


 Implementation
 (Action Plan)


 Control
(KPI)
(Balance Scorecard)


Marketing Process คือ  กระบวนการทางการตลาด อย่าสับสนกับ Market Plan นะครับเพราะมันเป็นคนละตัวกัน โดยกระบวนการทางตลาดทางอาจารย์บอกให้เขียนก็ให้ดูแผนผังข้างหน้าครับว่ามีทั้งหมด 5 ตัว คือ R  STP   MM    I   และ ซึ่งแต่ละตัวสามารถเขียนอธิบายให้อาจารย์ได้ดังนี้คือ

1.   R = Research คือการวิเคราะห์ปัจจัย ในที่นี้เราจะใช้  SWOT มาเป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์  โดย  SW = เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับปัจจัยภายในให้ใช้ 4P มาเป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์  ยกตัวอย่างเช่น  ผลิตภัณฑ์  COKE
Product Strength = เป็นสินค้าที่มีรสชาติดีลูกค้าชอบ   Brand มีชื่อเสียง
Product Weak     = เป็นสินค้าที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร กินแล้วไม่มีประโยชน์

Price Strength      = ลูกค้าพึงพอใจกับราคาขายในปัจจุบัน
Price Weak          = ราคาที่ขายอยู่ในปัจจุบันมีกำไรที่ต่ำเกินไป

Place Strength      = มีช่องทางการจัดจำหน่ายครอบคลุมทั่วประเทศ
Place Weak          = มีค่าใช้จ่ายในการจัดส่งสินค้าสูง

Promotion Strength  =  มีเงินทุนในการทำกิจกรรมส่งเสริมการขายสูง
Promotion Weak      พนักงานขายสินค้าไม่มีปะสบการณ์ในการขาย

            OT  =  เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ให้ใช้ General Environment และ Task Environment มาใช้เป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์ ดังนี้
            General Environment เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก โดยจะใช้ SPELT Analysis มาเป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์  ยกตัวอย่าง COKE เหมือนเดิม
            Social  Opportunity  =  สังคมเด็กวัยรุ่นนิยมดื่ม Coke เพิ่มมากขึ้น
            Social  Threat           =   ผู้บริโภคสนใจเรื่องสุขภาพเพิ่มขึ้น
           
            Politic  Opportunity = ………………………………………..
            Politic  Threat          =  รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมน้ำสมุนไพรที่เพิ่มขึ้น
Economic Opportunityภาพรวมของธุรกิจน้ำอัดลมมีการเติบโตที่สูงขึ้น
Economic  Threat         =  ค่าใช้จ่ายต่อหัวของประชาชนที่ลดลง

Legal  Opportunity        =  รัฐบาลออกกฎหมายลดภาษีราคาน้ำอัดลม
Legal Threat                 =  กฎหมายห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีดื่มน้ำอัดลม

Technology Opportunity  =  …...……………………………………….
Technology  Threat          =  เทคโนโลยีใหม่ที่นำใช้มีราคาแพง

Task Environment  เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกอีกตัว ที่ใช้  5 Force Modelมาเป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์  ยกตัวอย่าง COKE เหมือนเดิม
1.            คู่แข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกัน
คู่แข่งของ Coke อย่าง Pepsi ยังมีเทคโนโลยีที่ด้อยกว่า และมีส่วนครองตลาดที่ต่ำกว่า Coke  และ Coke มีส่วนครองตลาดมากที่สุด
2.            การเข้ามาของผู้เข้าแข่งขันรายใหม่
อุตสาหกรรมน้ำอัดลมมีการใช้ต้นทุนในการทำการตลาดสูง และใช้เวลาในการคืนทุนนาน เป็นอุปสรรคสำหรับรายใหม่ที่จะเข้ามาแข่งขัน
3.            สินค้าทดแทน
น้ำดื่มสมุนไพรเป็นสินค้ามดแทนที่ส่งผลกระทบต่อตลาดมากที่สุดเพราะลูกค้าใส่ใจในสุขภาพเพิ่มขึ้น
4.            อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ
ผู้ซื้อมีอำนาจในการต่อรองสูง เพราะในตลาดมีสินค้าที่หลกหลาย ทำให้สามารถกดราคาสินค้าของเราได้ให้ต่ำลงได้
5.            อำนาจต่อรองของผู้ขาย
ผู้ขายไม่มีอำนาจในการต่อรอง เพราะเราเป็นรายใหญ่ที่มีการสั่งซื้อสูง และในตลาดมี Supplier อยู่มาก